Category Archives: news-eng

Star Products ส่งแรงใจมอบเงินบริจาคเพื่ออุปกรณ์การแพทย์ COVID-19

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศไทยอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้เกิดวิกฤติการณ์การขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหนัก ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นไปอีก ส่งผลทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นไปอย่างยากลำบาก การช่วยเหลือไม่ทั่วถึง และไม่ทันต่อจำนวนความต้องการ ดังนั้น เมื่อวันที่11 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมาทางบริษัท STAR PRODUCTS พร้อมครอบครัวลยานันท์ และบริษัทในเครือ ยูเนียน อินต้า จำกัด โดยมีตัวแทนฝ่ายผู้บริหารบริษัท คุณจิตราภรณ์ ลยานันท์ CEO คุณวิวิศน์ ลยานันท์ CMO คุณวิลาวัณย์ ลยานันท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ได้มอบเงินบริจาคเพื่ออุปกรณ์ทางการแพทย์โควิด -19 เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยมีทีมแพทย์จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นผู้รับมอบเงินบริจาคในครั้งนี้ นำโดย รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผอ. รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ผศ.นพ.ฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์ ผอ. รพ.สนามธรรมศาสตร์ ผศ.พญ.กริชา ไม้เรียง รองผอ.รพ. โดยในการบริจาคเงินในครั้งนี้ ทางบริษัท STAR PRODUCTS พร้อมครอบครัวลยานันท์ และบริษัทในเครือ

บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งเเวดล้อม

เพราะบรรจุภัณฑ์จากฟอยล์ให้คุณมากกว่า บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมฟอยล์ หรือที่หลายๆคนคุ้นหูว่าถาดฟอยล์นั้นมักพบคำถามว่า “ถาดฟอยล์เข้าไมโครเวฟได้ไหม?” “ทำไมราคาสูงจัง?” “ถาดฟอยล์สามารถรีไซเคิลได้มั้ยอย่างไร?” ณ ปัจจุบันถาดฟอยล์เป็น 1 ใน บรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภครวมถึงผู้ประกอบการหันมาใช้และให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ  เพราะนอกจากตอบโจทย์เรื่องการใช้งาน (เข้าเตาอบโดยไม่ต้องใช้แม่พิมพ์, เข้าไมโครเวฟ และ การเก็บความร้อนและความเย็น) สะดวกในการขนส่ง และ เพิ่มมูลค่าให้สินค้าแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญคือการรีไซเคิล “รีไซเคิล” คือการนำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้วไปผ่านกระบวนการรีไซเคิล ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งอาจเปลี่ยนรูปแบบไปหรือนำกลับมาใช้ในรูปแบบเดิมก็ได้ การรีไซเคิลถาดอลูมิเนียมฟอยล์นั้น จำเป็นต้องผ่านกระบวนที่เรียกว่า การเผาไหม้ (Inceneration) ในการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่เป็นกระบวนการที่ทำให้อลูมิเนียมฟอยล์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่สิ้นสุด (Infinitely Recycle)   ซึ่งกระบวนการนี้นอกจากจะได้อลูมิเนียมฟอยล์กลับไปใช้ประโยชน์ในการแปรรูปเพื่อใช้ในด้านอื่นแล้ว การรีไซเคิลอลูมิเนียมฟอยล์ยังใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตอลูมิเนียมฟอยล์ขึ้นใหม่กว่า 95%  ลดการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและการปล่อยแก๊ส CO2 ระหว่างการผลิตซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน  เป็นการช่วยรักษาโลกของเราโดยตรง  ทำให้ถาดฟอยล์เป็นหนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลกและสิ่งแวดล้อม เพราะเราตระหนักถึงประโยชน์ของการรีไซเคิลอลูมิเนียมฟอยล์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเรา  สตาร์โปรดักส์จึงได้ริเริ่มโครงการ “กินแล้วเก็บ” ซึ่งเป็นโครงการที่รณรงค์ให้ทางผู้บริโภคนำฟอยล์ที่ใช้แล้วมาทำความสะอาดและรวบรวมส่งมาให้กับทางบริษัท โดยบริษัทจะนำไปขายให้แก่โรงงานรีไซเคิลอลูมิเนียมฟอยล์ และนำเงินที่ได้จากการขาย(ไม่หักค่าใช้จ่าย) ไปบริจาคให้แก่มูลนิธิขาเทียม / มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อเป็นการสื่อสารไปยังผู้บริโภคว่าถาดฟอยล์นั้นสามารถรีไซเคิลได้ และ เป็นกระบอกเสียงว่าการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมฟอยล์สตาร์โปรดักส์ ให้มากกว่าการตอบโจทย์เรื่องการใช้งาน เพราะสามารถรีไซเคิลได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

ใช้บรรจุภัณฑ์ “ฟอยล์ใส่อาหาร” หรือ “บรรจุอาหาร” ไม่ก่อให้เกิด “โรคอัลไซเมอร์”

หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ได้ออกมาโต้เถียงว่า “จริงอยู่ที่ว่าถ้าร่างกายได้รับสารอะลูมิเนียมจำนวนมาก จะเป็นพิษต่อร่างกาย แต่ว่า ยังไม่เคยมีงานวิจัยบนโลกใบนี้ ออกมาพิสูจน์อย่างชัดเจนถึงสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ที่เกิดมาจากการใช้บรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมฟอยล์ รวมถึงยังไม่มีผลงานวิจัยยืนยันว่าอะลูมิเนียมที่ปนเปื้อนในอาหาร ทําให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ ได้อีกเช่นกัน”อีกทั้ง องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ไม่เคยออกประกาศเตือนเรื่องการใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ ว่าเป็นอันตรายต่อระบบประสาท หรือ ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ เพราะพวกเขาเองก็ยังไม่มีงานวิจัยมาสนับสนุน ข้อความอันนี้เห็นได้ชัดว่าในต่างประเทศยังคงมีการใช้อลูมิเนียมฟอยล์เพื่อห่อ หรือบรรจุอาหารในการประกอบอาหารและ สำหรับส่งเดลิเวอรี่กันอยู่ เพียงแค่องค์การอนามัยโลก (WHO) มีแค่คำแนะนำว่า เราควรจะจำกัดปริมาณของอะลูมิเนียมที่คนเราจะกินเข้าไป ไว้ที่ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม เพียงเท่านั้น…เพราะฉะนั้น ทั้งหมดนี้ คือเหตุผลที่ทำให้ หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ออกมาโต้แย้งว่า ความเชื่อของเรื่องผลิตภัณฑ์ฟอยล์ ห่ออาหาร จะทำให้เกิด “โรคอัลไซเมอร์”นั้น ไม่เป็นความจริง ! กลับมาที่ฝั่งของประเทศไทยเรากันบ้างเรื่องราวนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศไทย และ กรมอนามัย เขาก็ไม่ได้นิ่งเฉยโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศไทย นำทีมโดย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มอบหมายให้สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ทำการทดลอง ดังนี้ 1. เตรียมแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้ในภาชนะประกอบอาหาร